Lady’s Slipper กล้วยไม้รองเท้านารี

กล้วยไม้รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า “กระเป๋า” มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ กล้วยไม้รองเท้านารี มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึง รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอเช่นเดียวกับ หวาย คัทลียา และซิมบิเดียม ต้นที่แท้จริงเรียกว่า ไรโซม (เหง้า) ต้นหนึ่งหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น รากออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักจะทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป หน่อใหม่จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า มีลำต้นสั้นมาก แต่ไม่มีลำลูกกล้วย ใบมีขนาดรูปร่างต่างกันไป บางชนิดมีใบยาว บางชนิดใบตั้งชูขึ้น บางชนิดใบทอดขนานกับพื้น บางชนิดใบมีลาย บางชนิดใบไม่มีลายแต่เป็นสีเดียวเรียบๆ การออกดอกจะออกที่ยอด มีทั้งชนิดออกดอกเป็นดอกเดี่ยว และออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกชั้นนอกกลีบบนมีขนาดใหญ่สะดุดตา ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะเชื่อมติดกันและมีขนาดเล็กลงจนส่วนปากบังมิดหรือเกือบมิด กลีบคู่ในซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกางออกไปทั้ง 2 ข้างซ้ายขวาของดอก ส่วนกลีบในกลีบที่ 3 จะเปลี่ยนเป็น “กระเปาะ” คล้ายรูปรองเท้า กระเปาะนี้มีหน้าที่รับน้ำฝนตกลงไปเพื่อชะล้างเกสรตัวผู้ไปตัดกับแผ่นเกสรตัวเมีย กล้วยไม้สกุลนี้จะมีทั้งเกสรตัวผุ้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน แต่จะมีเส้าเกสรแตกต่างจากกล้วยไม้ทั่วๆ ไป คือ ที่ปลายสุดของเส้าเกสร แทนที่จะเป็นอับเรณูกลับเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งทางพฤษศาสตร์ถือเป็นเกสรที่เปลี่ยนรูปร่างไปใช้การไม่ได้ เรียกส่วนนี้ว่า “สตามิโนด” สำหรับเกสรตัวผู้ที่ใช้การได้มีอยู่ 2 ชุด โดยจะอยู่ถัดต่ำลงมาทั้ง 2 ข้างของเส้าเกสรข้างละ 1 ชุด ในแต่ละชุดจะมีอับเรณูลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ 2 อัน ถัดต่ำลงมาจากส่วนนี้อีกจะเป็นยอดเกสรตัวเมียซึ่งเป็นแอ่งลึกลงไปยึดติดกับเส้าเกสร (ปกติส่วนนี้จะถูกหูกระเป๋าโอบหุ้มเอาไว้จนมิด) ภายในมีน้ำเมือกเหนียวสำหรับยืดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง รังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อน จนกระทั่งผสมเกสรแล้วจึงเกิดไข่อ่อนในรังไข่ รังไข่จะกลายเป็นฝักเมื่อฝักแก่จะแตกเมล็ดสามารถเจริญงอกงามเป็นต้ใหม่ได้ โดยธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทุกชนิด เมื่อออกดอกแล้วก็จะตายไป แต่ก่อนตายจะแตกหน่อทดแทน ซึ่งหน่อนี้ก็จะเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ต่อไป ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้รองเท้านารี ที่สำรวจพบ ได้แก่

Read Users' Comments (0)

นิทานปรัมปราหรือนิทานทรงเครื่อง

นิทานปรัมปราหรือนิทานทรงเครื่อง (fairy tale) ลักษณะที่เห็นเด่นชัด คือเป็นเรื่องค่อนข้างยาว มีเหตุการณ์ที่เป็นจุดขัดแย้งประกอบอยู่หลายเหตุการณ์ หรือหลายอนุภาค เนื้อเรื่องจะประกอบด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆซึ่งพ้นวิสัยมนุษย์ สถานที่เกิดเหตุ ไม่แน่ชัดว่ามีอยู่ที่ใด ตัวเอกของเรื่องเป็นผู้มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น มีบุญบารมี มีของวิเศษที่สามารถต่อสู้อุปสรรคขวากหนามทำให้ศัตรูพ่ายแพ้ไปในที่สุด และจบลงด้วยความสุข เช่น เรื่องโสนน้อยเรือนงาม ปลาบู่ทอง นางสิบสอง สังข์ทอง เป็นต้น (กุหลาบ มัลลิกะมาส, 2518, หน้า 106) เนื้อหาของนิทานประเภทนี้สนุกสนานตื่นเต้น การดำเนินเรื่องอยู่ในโลกของจินตนาการ มีความมหัศจรรย์จากอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของตัวละครที่เป็นอมนุษย์ เช่น ยักษ์ เทวดา หรือพญานาค เข้ามาเกี่ยวข้องในบางแห่งจึงเรียกนิทานประเภทนี้ว่า “นิทานมหัศจรรย์” และ ด้วยเนื้อเรื่องสนุกสนานดังกล่าว ปัจจุบันจึงมีผู้นำมาดัดแปลงสำหรับใช้แสดงลิเก ละคร ภาพยนตร์ และการแสดงอื่นๆ

Read Users' Comments (0)

นิทานประเภทอธิบายเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆที่น่าสนใจ

นิทานประเภทอธิบายหรือนิทานอธิบายเหตุ (explanatory tale) เป็นเรื่องที่ตอบคำถามว่าทำไม เพื่ออธิบายความเป็นมาของบุคคล สัตว์ ปรากฏการณ์ต่างๆของธรรมชาติอธิบายชื่อสถานที่ต่างๆสาเหตุของความเชื่อบางประการ รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับสมบัติที่ฝังไว้ นิทานประเภทนี้ของไทยได้แก่ เหตุใดกาจึงมีสีดำ ทำไมมดตะนอยจึงเอวคอด ทำไมจึงห้ามนำน้ำส้มสายชูเข้าเมืองลพบุรี ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ นิทานที่พบมากคือ เรื่องเกี่ยวกับสถานที่ เช่น เกาะหนู เกาะแมว ในจังหวัดสงขลา ถ้ำผานางคอย จังหวัดแพร่ เขาตาม่องล่าย เป็นต้น

Read Users' Comments (0)

นิทานประเภทคำสอน

นิทานคติสอนใจหรือ(fable) เป็นเรื่องสั้นๆไม่ สมจริง มีเนื้อหาในเชิงสอนใจ ให้แนวทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องทำนองคลองธรรม บางเรื่องสอนโดยวิธีบอกตรงๆ บางเรื่องให้เป็นแนวเปรียบเทียบเป็นอุทาหรณ์ ในบางแห่งจึงเรียกนิทานประเภทนี้ว่า นิทานอุทาหรณ์บ้าง หรือนิทานสุภาษิตบ้าง ตัวละครในเรื่องอาจจะเป็นคน สัตว์ หรือเทพยดา เป็นตัวดำเนินเรื่อง สมมติว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น เรื่องหนู กัดเหล็ก นิทานอีสป นิทานจากปัญจตันตระ เป็นต้น

Read Users' Comments (0)